วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ลอยกระทงออนไลน์

ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง




    ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง
  เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม
ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"

   ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

   "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"
    ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย
     ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว

ประวัติงานลอยกระทง       ประวัติงานลอยกระทง

เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
          1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
          2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
          3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
          4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
          5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
          6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
          7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
          การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

การลอยกระทงในปัจจุบัน
          การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

เหตุผลของการลอยกระทง
สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
          1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย
          2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
          3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
          4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญา มารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง


   

ข้อมูลจาก http://www.loikrathong.net/th/History.php
---------------------------------------------
เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราว
เดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของ
ประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการ
ลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระ
พุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศ
อินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทง
ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล
      ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่
กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ
ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน
เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธี
จองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร
พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท
ณ หาดทรายแม่น้ำนัมฆทานที ประเทศอินเดีย
       การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ
ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน  12  ให้ทำโคมลอย  เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา
พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่
และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
"ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรงพระบรม
วงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง
ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอกทำประกวด
ประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้างวิจิตรไปด้วยเครื่องสด
คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20  ชั่งบ้าง
ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปี
ที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง
และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยัง
นิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้
โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้
ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้าพร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาว
สวยงามมากทีเดียว
ประวัติการลอยกระทงในประเทศไทย
       การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของ
พระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคม
ในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำ
สายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง
กรุงเทพมหานคร

   
สถานที่จัดงาน : บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงเทพ-สะพานกรุงธน) กรุงเทพมหานคร
กิจกรรม : ชม ฟรี  ขบวนเรือประดับไฟฟ้า “สายน้ำสายวัฒนธรรม” และขบวนเรือประเพณีลอยกระทง ชิงเงินรางวัลกว่า ๑.๕๐๐.๐๐๐ บาท  ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๙.๓๐-๒๒.๐๐ น. บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานกรุงเทพถึงสะพานกรุงธน กรุงเทพมหานคร
สัมผัสบรรยากาศพิเศษสุดของงานลอยกระทงในแบบฉบับกรุงรัตนโกสินทร์ชมฟรี  ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๘.๓๐-๒๑.๓๐ น. ณ บริเวณสวนสันติชัยปราการ  กรุงเทพมหานคร  อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชนิด
ชมขบวนเรือประดับไฟฟ้าในมุมมองที่ดีที่สุด  ดื่มด่ำกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม  บรรยากาศตลาดย้อนยุค
ท่องเที่ยวทางน้ำตามรอยพระราชอาคันตุกะ  และไหว้พระ ๙ วัด  ชมสีสันของแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืนกับสมาคมเรือไทย  ร้านอาหาร  โรงแรม  ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งเดือน  พฤศจิกายน ๒๕๕๑
   

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ
จังหวัดสุโขทัย

   
สถานที่จัดงาน : บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม : ตระการ ตากับขบวนแห่กระทงใหญ่ จากหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย  ขบวนโคมชักโคมแขวน  การแสดงพลุ  ดอกไม้ไฟไทยโบราณ  เช่น  พลุ  ตะไล  ไฟพะเนียง  ไฟกังหัน  โคมลอย  ฯลฯ  ประกวศนางนพมาศ  การแสดงแสง-เสียง “รุ่งอรุณแห่งความสุข” การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีสุโขทัย ประกวดกระทงและร่วมลอยกระทง ร่วมพิธีอาบน้ำเพ็ญ ในคืนเดือนเพ็ญ ณ เมืองเก่ากรุงสุโขทัย
   

ประเพณียี่เป็ง
จังหวัดเชียงใหม่

   
สถานที่จัดงาน : บริเวณข่วงประตูท่าแพ  ริมฝั่งแม่น้ำปิง  หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรม : ตื่น ตากับโคมลอย  ขบวนแห่โคมไฟ  ขบวนประกวดกระทง  ประกวดเทพียี่เป็ง  และการแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิงกิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลาหาวิถีล้านนาไทยใน อดีต  การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา  การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา
   

ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวง
จังหวัดตาก

   
สถานที่จัดงาน : บริเวณแม่น้ำปิง  ริมสายธารลานกระทงสาย  อำเภอเมือง  จังหวัดตาก
กิจกรรม : สัมผัส บรรยากาศและร่วมเชียร์การแข่งขันประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทาน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  การจัดลอยประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์  ขบวนแห่กระทงพระราชทานและพระประทีปพระราชทาน  การตกแต่งประดับไฟในบรรยากาศกระทงสาย  การแสดงแสง-เสียง  พลุ  ดอกไม้ไฟ  และม่านน้ำ  ชุด “ตำนานกระทงสาย” การจัดลอยกระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
   

งานลอยกระทงตามประทีปศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

   
สถานที่จัดงาน : บริเวณอทุยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรม : เชิญ ร่วมลอยกระทงตามประทีปรูปแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา ชมการประกวดกระทง และโคมแขวน ประกวศนางนพมาศ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค มหรสพต่าง ๆ มากมาย ข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร ๐ ๓๕๓๒ ๒๗๓๐-๑
   

งานแสดงโคมไฟเฉลิมพระเกียรติ สีสันเมืองใต้
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

   
สถานที่จัดงาน : ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
กิจกรรม : ตระการ ตากับงานลอยกระทงร่วมสมัย และการแสดงโคมไฟ “๗ โซนมหัศจรรย์” ประกอบด้วยมหัศจรรย์โคมไฟ จินตนาการโลกของเด็ก มหัศจรรย์โคมไฟกลางน้ำ มหัศจรรย์โลกของสัตว์ มหัศจรรย์โคมไฟนานาชาติ มหัศจรรย์โคมไฟจื้อกงหรือโคมไฟชุดพิเศษ มหัศจรรย์โคมไฟโลกสัตว์ปีก มหัศจรรย์โคมไฟประติมากรรม นิทรรศการเกี่ยวกับโคมไฟทั้งไทยและต่างประเทศ และการแสดงทางวัฒนธรรม
   

 คุณค่าและความสำคัญ
ลอย กระทงเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งมีการปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น เพื่อให้ความเคารพ และขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งเป็นการขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์หรือ ทำความเสียหายแก่น้ำ เช่น ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงน้ำ หรือลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ซึ่งประเพณีลอยกระทงก่อให้เกิดคุณค่าและความ สำคัญ ดังนี้
1. คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การประดิษฐ์กระทงไปลอยเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ให้คุณประโยชน์ แก่เรา
2. คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน
3. คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการ ช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ
4. คุณค่าต่อศาสนา เป็นการช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยแต่โบราณ

กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริม....

ประเพณีลอยกระทง มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการถือปฏิบัติและสืบทอดต่อไป ได้แก่
1. การทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังงานลอยกระทง เช่น ขุดลอกคูคลอง เก็บขยะหรือสิ่งปฏิกูลในแหล่งน้ำ จากนั้นก็นำกระทงไปลอยในแม่น้ำลำคลอง และทำพิธีระลึกบูชาคุณค่า ของน้ำ โดยการตั้งคำปฏิญาณที่จะรักษาแหล่งน้ำต่อไป
2. การทำบุญให้ทาน ฟังเทศน์และถือศีลปฏิบัติธรรม ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
3. การรณรงค์ประดิษฐ์กระทงโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย หรือเป็นวัสดุที่ใช้เป็นอาหารสำหรับ สัตว์น้ำ เช่น ปลา ได้
4. การจัดขบวนแห่กระทง และการจัดกิจกรรมประกวดกระทง โคมลอย ไม่ควรให้ความสำคัญกับการประกวด นางนพมาศ มากเกินไปนัก
5. การจุดดอกไม้ไฟ ควรจุดอย่างระมัดระวัง ในเวลา และบริเวณที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเท่านั้น
6. การละเล่นรื่นเริงตามความเหมาะสมตามประเพณีท้องถิ่นนั้น ๆ
7. การรณรงค์ไม่ปล่อยน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในแหล่งน้ำ

เพลงลอยกระทง 
ที่มา http://www.kodhit.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%87

รักแท้ - รักเทียม ดูอย่างไร


ตอน นี้ ทุกคนจะต้องมาช่วยกันฟื้นฟูหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาวันมาฆบูชานี้เป็นตัวอย่างที่เตือนจิตสำนึก ถ้าเรามองวันมาฆบูชาแล้วนึกถึงพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาประชุมกันในวันนั้น ด้วยใจมุ่งจะไปทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน วันมาฆบูชาก็เป็นวันแห่งความรักที่แท้ แต่ความรักในที่นี้หมายถึงรักประชาชนและรักประโยชน์สุขของประชาชน คืออยากจะเห็นคนทั้งหลายเป็นสุข

ความรักในความหมายที่แท้คืออยากเห็นเขาเป็นสุข เหมือนอย่างพ่อแม่รักลูก ก็คืออยากเห็นลูกเป็นสุข แต่ยังมีความรักอีกแบบหนึ่ง คือความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเป็นสุข อย่างนี้ไม่ใช่รักเขาจริงหรอก เป็นความรักเทียม คือราคะนั่นเอง

ความรักมี 2 ประเภท ทุกคนต้องจำไว้ให้แม่น คือ

๑. ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเราเป็นสุข ความรักแบบนี้ต้องได้ต้องเอา ซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ หรือต้องมีการแย่งชิงกัน คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่กับความชอบใจ ไม่ชอบใจ ยังไม่ได้ขัดเกลาจิตใจ จะมีความรักประเภทนี้ก่อน แต่เมื่อความเป็นมนุษย์พัฒนาขึ้น ก็จะมีความรักที่แท้จริงในข้อต่อไปมากขึ้น คือ
๒. ความรักที่อยากเห็นเขามีความสุข พออยากเห็นเขาเป็นสุข ก็อยากทำให้เขาเป็นสุข พอทำให้เขาเป็นสุขได้ ฉันก็เป็นสุขด้วย เหมือนพ่อแม่อยากเห็นลูกมีความสุข พอทำให้ลูกเป็นสุขได้ ตัวเองก็เป็นสุขด้วย จึงเป็นความรักที่พร้อมจะให้และสุขด้วยกัน

ความรักที่พึงประสงค์ คือความรักประเภทที่ ๒ ซึ่งเป็น ความรักแท้ ได้แก่ ความรักที่อยากให้เขาเป็นสุข เวลานี้เรามีวันแห่งความรัก แต่ไม่รู้ว่าเป็นรักประเภทไหน รักจะได้เอาเพื่อตนเอง หรือรักอยากให้เขาเป็นสุข ก็ไปพิจารณาให้ดี

คู่ครองที่ดี

คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติและประพฤติตามข้อปฏิบัติดังนี้

ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้อง กลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันไดัยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ

๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชา แนวความคิด ความเชื่อถือ หรือหลักการต่าง ๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้
๒. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้องไปกันได้
๓. สมจาคะ มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
๔. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
จาก หลักธรรมจากธรรมนูญชีวิต   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 
ที่มา http://kwamjing.freewebsites.com/chapter05.htm
 

 


ความรักในทางพุทธศาสนา

 
ถาม: จึงใคร่ขอกราบเรียนถามท่านเจ้าคุณว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของความรัก และในทางพุทธศาสนาให้คติหรือแนวความคิดอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้

ตอบ: พระพุทธศาสนายอมรับธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนเป็นอันดับที่หนึ่งก่อน แต่ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น คือ มีการพิจารณาต่อไปว่าในกรณีที่ธรรมชาติของปุถุชนนั้นมีข้อบกพร่องหรือมีโทษ ก็จะสอนถึงการปรับปรุงแก้ไข หรือทำให้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า การศึกษา หรือ การพัฒนาชีวิต

อันนี้ก็ไปสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์อีกประการหนึ่งที่ว่า มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ หรือพัฒนาได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าต้องพัฒนา และศักยภาพสูงสุดที่จะพัฒนาได้จนเป็นผู้ที่ประเสริฐอย่างยิ่ง

ทีนี้ เราก็เอาหลักการสองอย่างนี้มาใช้ โดยวางวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้เกิดผลดี ในกรณีที่มีความรักแบบที่ว่าตามธรรมชาติของปุถุชนที่จะมีครอบครัวอะไรนี่ ก็กำหนดว่าทำอย่างไรจะให้เป็นไปในลักษณะที่ไม่เกิดโทษแก่ผู้อื่น แก่สังคม แต่ให้ดำเนินไปในทางที่ดีงาม ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตและแก่สังคมนั้น อย่างน้อยก็แก่ทั้งสองคนนั้นแหละให้เขาอยู่กันด้วยดีมีสุข อันนี้เป็นขั้นที่หนึ่ง

สำหรับขั้นนี้เราก็มีคำแนะนำให้ว่าเขาควรจะพัฒนาจิตใจของเขาอย่างไร พร้อมทั้งหลักการในการดำเนินชีวิตและในการปฏิบัติต่อกัน เพื่อให้มีผลดีทั้งต่อระหว่างสองคน และในแง่ของแต่ละคน โดยคำนึงถึงจิตใจของแต่ละคน โดยเฉพาะความสุขของแต่ละฝ่าย ตลอดจนประโยชน์ที่จะขยายออกไปสู่สังคมวงกว้างด้วย รวมทั้งถ้าเขามีบุตรก็ให้เป็นประโยชน์แก่บุตรหลานของเขาต่อไปด้วย

ทีนี้ต่อไปก็คือ เหนือกว่านั้น ทำอย่างไรจะพัฒนาเขาขึ้นไปให้เขาสามารถมีความสุขที่สูงขึ้นไปอีก ให้มีความรู้สึกที่ประณีตดีงามชนิดที่เป็นคุณธรรมซึ่งคล้าย ๆ ว่าเข้ามาเสริมคุณค่าของความรักแบบแรกนี้ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น ความรักแบบที่สอง และเมื่อความรักแบบที่สองนี้เจริญงอกงามมากขึ้น ก็จะช่วยให้ความรักประเภทที่หนึ่งประณีตงดงาม จนกระทั่งแม้เมื่อเขาไม่สามารถอาศัยความรักประเภทที่หนึ่งต่อไปได้ เขาก็ยังมีความรักประเภทที่สองหล่อเลี้ยงชีวิตร่วมกันอยู่ตลอดไป

เป็นอันว่า สำหรับความรักประเภทที่หนึ่งนี้ ท่านก็ยอมรับแต่จะต้องให้อยู่ในกรอบ หรือในขอบเขตที่ดีงาม แล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่ก็ว่ายังมีส่วนที่เป็นโทษ จึงต้องปรับปรุงพัฒนาต่อไป

ในทางพุทธศาสนา ท่านพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในแง่ข้อดีหรือคุณ และข้อเสียหรือโทษ คือข้อบกพร่อง แล้วก็บอกทางออก หรือทางแก้ไขให้ด้วย อันนี้เป็นหลักในการพิจารณาทุกอย่าง เพื่อให้เราปฏิบัติต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยสติและปัญญาอย่างรอบคอบ ที่จะแก้ปัญหาได้และเข้าถึงประโยชน์สุขที่แท้จริง
ถาม: อยากจะขอให้ท่านแยกให้เห็นชัดว่า ความรักแบบที่หนึ่งเป็นอย่างไร และความรักแบบที่สองเป็นอย่างไร

ตอบ: ก็มาดูเรื่องของความรักประเภทที่หนึ่งก่อน ความรักประเภทที่หนึ่งที่คนทั่วไปรู้เข้าใจกันว่าเป็น ความรักระหว่างเพศ หรือ ความรักทางเพศ มี จุดเด่นอยู่ที่ความชื่นชมติดใจ หรือความปรารถนาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสกายของผู้ที่ตนรัก อันนี้เป็นความรักสามัญของปุถุชน ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือความต้องการหาความสุขให้แก่ตนเอง หมายความว่า ที่รักเขานั้นก็เพื่อเอาเขามาเป็นเครื่องบำเรอความสุขแก่ตน ต้องการเอาความสุขเพื่อตนเอง

ความรักแบบที่หนึ่งนี้ ที่แท้แล้วก็คือการคิดจะเอาจากผู้อื่น ในเมื่อมันมีลักษณะอย่างนี้ มันจึงมีข้อเสียที่สำคัญติดมาด้วย คือถ้าหากว่าเขาผู้นั้นไม่อยู่ในภาวะที่จะสนองความปรารถนาให้เรามีความสุข ได้ เราก็จะเบื่อหน่าย แล้วก็อาจจะรังเกียจ จึงเห็นได้ว่าไม่ยั่งยืน อันนี้เป็นข้อบกพร่องที่สำคัญประการแรก

นอกจากนั้น เนื่องจากความรักแบบที่หนึ่งนี้มุ่งจะเอาความสุขให้แก่ตัว หรือจะเอาผู้อื่นมาบำเรอความสุขหรือให้ความสุขแก่ตัว ความรักแบบนี้จึงมีลักษณะจำเพาะเจาะจง โดยมีบุคคลที่ชอบใจถูกใจเป็นเป้า เป็นความยึดติดผูกพันเฉพาะตัว

เมื่อลักษณะสองอย่างนี้มาผนวกกันเข้า ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือความหึงหวง
ความรักแบบนี้จึงมาคู่กับความหึง มีการยึดถือเป็นของตัว ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ไม่ต้องการให้ใครอื่นมายุ่งเกี่ยวหรือแม้แต่ได้รับความเอาใจใส่
ความหวงแหนผูกพันเฉพาะตัว และต้องการให้เขาหรือเธอให้ความสุขแก่ตัวผู้เดียวนี้ แสดงออกได้ทั้งทางกายและทางใจ

ทางกายก็ต้องการให้เป็นของตนผู้เดียว ไม่ให้ใครอื่นมายุ่งเกี่ยว อย่างที่เรียกว่า หวงผัสสะ
ส่วนทางด้านจิตใจ ก็ต้องการความเอาใจใส่ ความมีใจภักดีให้ฉันคนเดียวเป็นผู้ครองหัวใจเธอ หรือให้ใจเธออยู่กับฉัน อย่าปันใจให้คนอื่น

เนื่องจากความรักแบบที่หนึ่งนี้ มักจะมาด้วยกันกับความหวงแหน เห็นแก่ตัว หรือความ
หึงหวง จึงอาจจะทำให้เกิดการแย่งชิง ทะเลาะเบาะแว้ง แม้จะไม่ได้แย่งชิงทะเลาะเบาะแว้งกับใครก็มักจะเกิดความมัวเมาหมกมุ่น จนกระทั่งบางทีก็ถึงกับละทิ้งกิจหน้าที่หรือความดีงามที่ควรจะทำ หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ทำให้ยิ่งโลภแล้วพยายามแสวงหาอะไรต่าง ๆ มุ่งแต่จะกอบโกยเอามาเพื่อตัวเองและเพื่อคนที่ตนรักเท่านั้น โดยไม่เห็นแก่ผู้อื่นเลย จึงอาจทำให้เกิดการเบียดเบียนกันได้มาก
ที่ว่ามานี้คือโทษประการต่าง ๆ ของความรักแบบที่หนึ่ง ซึ่งในที่สุดแล้วจุดจบของมันก็คือความไม่ยั่งยืน เพราะว่าแท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องของการหาความสุขให้แก่ตัวเอง แม้จะเป็นคู่ครองอยู่ร่วมกันก็เห็นเขาเป็นสิ่งสนองความสุข เป็นที่สนองความต้องการของตนเองเท่านั้น
ถ้าหากว่าเขาหรือเธอไม่สามารถสนองความต้องการของเรา ลองถามตัวเองซิว่าเราจะยังรักเขาไหม
ต้องถามตรง ๆ อย่างนี้ ถ้าเขาไม่สามารถสนองความต้องการของเรา ไม่สามารถให้ความสุขแก่เรา ถ้าเรามีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ลองตอบดู เราจะรักเขาไหม หรือว่าเราจะกลายเป็นเบื่อหน่ายรังเกียจ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นโทษหรือข้อเสียของความรักแบบที่หนึ่ง
ถาม: สำหรับความรักแบบที่หนึ่ง คิดว่าชัดเจนแล้ว อยากจะทราบถึงความรักแบบที่สองว่าเป็นอย่างไร

ตอบ: ความรักแบบที่สอง คือ ความรักที่อยากให้เขามีความสุข หรืออยากเห็นเขามีความสุข อย่างที่เรียกว่าเป็นความปรารถนาดี เรารักใคร เราก็อยากให้คนนั้นมีความสุข อยากทำให้เขามีความสุข และอยากทำอะไร ๆ เพื่อให้เขามีความสุข

ลองถามตัวเองก่อน เวลารักใครลองถามตัวเองว่า เราต้องการความสุขเพื่อตัวเรา หรือเราอยากให้เขามีความสุข ถ้าเป็นความรักที่แท้ก็ต้องอยากให้เขามีความสุข
เมื่ออยากให้เขามีความสุข ก็ต้องการทำให้เขามีความสุข หรือทำอะไร ๆ เพื่อให้เขามีความสุข

การที่จะทำให้คนอื่นมีความสุขนั้น การกระทำที่สำคัญก็คือการให้

การให้เป็นปฏิบัติการที่ชัดเจนและต้องใช้มากที่สุดในการทำให้ผู้อื่นมีความ สุข ดังนั้น ผู้ที่มีความรักแบบที่สองจึงมีความสุขในการให้และให้ด้วยความสุข ความรักแบบที่สองจึงทำให้การให้กลายเป็นความสุข
แต่ต้องพูดกันไว้ก่อนด้วยว่า การให้ที่ว่านี้ไม่ใช่เป็นการให้แบบล่อเหยื่อหรือเอาอกเอาใจ ถ้าให้แบบนั้น พอไม่ได้เขามาก็จะเสียใจ เสียดาย และแค้นใจ เพราะเป็นการให้เพื่อจะเอา ไม่ใช่ปรารถนาดีแก่เขาจริง

ในขณะที่ ความรักแบบที่หนึ่ง เป็นความต้องการที่จะเอาความสุขจากผู้อื่น หรือต้องการความสุขจากการเอา ความรักแบบที่สอง เป็นความต้องการที่จะให้ความสุขแก่ผู้อื่น และเป็นการทำให้เกิดความสุขจากการให้
ในแบบที่หนึ่ง การได้จึงจะเป็นความสุข แต่ในแบบหลัง การให้ก็เป็นความสุข
พูดสั้น ๆ ว่า ความรักที่เป็นการเอา กับความรักที่เป็นการให้

ถ้าเรารักเขาโดยอยากให้เขามีความสุขแล้ว มันก็มีความยั่งยืนมั่นคง เมื่อเขามีความทุกข์ความเดือดร้อน แม้ว่าเขาจะไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็ยังรักเขา
และเราจะเกิดความสงสาร ตอนแรกเรามีความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข พอเขาเกิดความทุกข์ มีความเดือดร้อนขึ้นมาความรักของเราก็จะกลายเป็นความสงสาร อยากจะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากความทุกข์ เราจะไม่เบื่อหน่ายรังเกียจ ซึ่งต่างกันชัดเจนกับความรักแบบที่หนึ่ง

ความรักแบบที่หนึ่งเป็นความต้องการที่จะหาความสุขให้แก่ตนเอง ซึ่งก็คือความเห็นแก่ตัวแบบหนึ่งนั่นเอง พอเขามีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็เบื่อหน่ายรังเกียจ แต่ความรักแบบที่สองนี่ต้องการให้เขามีความสุข พอเขามีความทุกข์เดือดร้อน เราก็สงสารอยากจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ให้เข้าพ้นจากความลำบากเดือดร้อน

ความรักแบบที่หนึ่งนั้นทางพระท่านเรียกว่า " ราคะ" หรือ "เสน่หา" ส่วนความรักแบบที่สองทางพระท่านเรียกว่า " เมตตา" รวมทั้ง " ไมตรี"
ทีนี้ ถ้าหากว่าคนที่เรารักนั้น เขาเกิดเปลี่ยนเป็นมีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน เมตตานั้นก็เปลี่ยนไปเป็น "กรุณา" คือ ความสงสารคิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ จึงมี เมตตา - กรุณา เป็นคู่กัน
นี่คือ ลักษณะของความรักสองแบบ รักแบบอยากให้เขามีความสุข กับรักแบบจะหาความสุขจากเขาหรือเอาเขามาทำให้เรามีความสุข เรียกเป็นคำศัพท์ว่า รักแบบเมตตา กับ รักแบบราคะ / เสน่หา

ธรรมกถาในวันมาฆบูชา พ.ศ.2544 เรื่อง ความรัก จากวาเลนไทน์สู่ความเป็นไทย
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ที่มา http://kwamjing.freewebsites.com/chapter04.htm

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทศนาพระครูวิมลธรรมรัตน์ (หลวงปู่บุญเสริม ธมฺมปาโล)

เทศนาพระครูวิมลธรรมรัตน์ (หลวงปู่บุญเสริม ธมฺมปาโล)
วัดป่ากัลทลิวัน (วัดป่าสวนกล้วย) ต.สวนกล้วย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ



หลวงปู่บุญเสริม ธมฺมปาโล


 

...ขอไว้อาลัยแด่การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ พระครูวิมลธรรมรัตน์ (หลวงพ่อบุญเสริม ธมฺมปาโล) เจ้าอาวาสวัดป่ากัทลิวัล มรณภาพเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖...

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สิ้นพระชนม์แล้ว อย่างสงบ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก




แถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่อง พระอาการประชวรของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 9
วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษารายงานว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการโดยรวมทรุดลง ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อเวลา 19.30 นาฬิกา ของวันนี้ สาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
24 ตุลาคม พุทธศักราช 2556
นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังสักการพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกว่า สำหรับกำหนดการในวันที่ 25 ต.ค.อยู่ระหว่างรอทรงพระกรุณาโปรดเกล้า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคาดว่า จะมีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในเวลา 12.00 น.และอัญเชิญพระศพ ประดิษฐานยัง ตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งคาดว่าจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน นอกจากนี้ จะออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งให้ข้าราชการทั่วประเทศแต่งชุดไว้ทุกข์ถวายความอาลัยเป็นเวลา 15 วัน ส่วนสถานที่ราชการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่ต้องการไปร่วมพิธีถวายน้ำสรงพระศพ ต่อหน้าพระรูป สามารถไปได้ยัง อาคารมนุษยนาควิทยาทาน ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป
สำหรับพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ลำดับที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2532 โดยมีพระนามเดิมว่า ‘เจริญ คชวัตร’ ประสูติเมื่อวันศุกร์ วันที่ 3 ตุลาคม 2456 ณ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พระชนก-พระชนนี ชื่อ นายน้อยและนางกิมน้อย คชวัตร ทรงเป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนบุตรชาย 3 คนของครอบครัวคชวัตร
เมื่อพระชนมายุย่าง 14 ปี ถือบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเทวสังฆาราม ต่อมา ทรงย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา อ.เมือง จ.นครปฐม 2 พรรษา ก่อนจะทรงย้ายมาศึกษาต่อที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในสมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งพระองค์ทรงสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
จากนั้นในพ.ศ.2476 ทรงกลับไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิวิฐสมาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พอถึงช่วงออกพรรษา ทรงกลับมาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง เพื่อญัตติเป็นธรรมยุต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระรัตนธัชมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ รับฉายาว่า สุวฑฺฒโน อันมีความหมายว่า ผู้เจริญปรีชายิ่งในอุดมปาพจน์
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร ได้รับหน้าที่เป็นพระอภิบาลโดยตลอด และต่อมาได้เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนา พระมงคลวิสสกถาในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ปีพุทธศักราช 2507 โดยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยลำดับ พระชนมายุ 34 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระโศภนคณาภรณ์ พระชนมายุ 39 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม พระชนมายุ 42 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม พระชนมายุ 43 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมคุณาภรณ์ พระชนมายุ 48 พรรษา เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ พระชนมายุ 59 พรรษา ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
พ.ศ.2532 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระองค์แรกที่ใช้พระนามเดิม และทรงให้ถือเป็นแบบธรรมเนียมตราในกฎมหาเถรสมาคมสืบมา
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นผู้ใฝ่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่างๆ อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และสันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
ขณะเดียวกัน ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรก ที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษี ณ นครซิดนีย์ ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทสเนปาลเป็นครั้งแรก โดยสถาบันการศึกษาของชาติหลายแห่ง ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและคุณค่าแห่งานพระนิพนธ์ ตลอดถึงพระกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ จึงได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการเทิดพระเกียรติหลายสาขา อย่างไรก็ตามตลอดเวลาที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้ พระองค์ทรงมีคุณูปการอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติอย่าง เอนกอนันต์ ในฐานะประมุขสงฆ์สูงสุด พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจและพระศาสนกิจได้ครบถ้วน ทรงเป็นผู้ปกครองอันเที่ยงธรรมมั่นคงในพระธรรมวินัยยิ่งนัก
ที่มา..http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=190109

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันออกพรรษา ประวัติวันออกพรรษา


ประวัติวันออกพรรษา

          โดยเมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง 3 เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ "วันออกพรรษา" ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม 2556
          ทั้ง นี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

          สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

          เมื่อ ทำพิธี วันออกพรรษา แล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือ 


           ไปไหนไม่ต้องบอกลา
           ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
           มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
           มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก 4 เดือน

 ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
           ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา 

          หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้

          สมัย พุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          โดย พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

          งาน เทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น 8 ค่ำกลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

          งาน เทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณี วันออกพรรษา ในแต่ละภาค

นอกจากนี้ในแต่ละภาคก็จะมีประเพณีที่ต่างกันไป

วันออกพรรษา ภาคกลาง

          จังหวัดนครปฐม ที่ พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

          จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

          แต่ สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล

          ส่วนทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี 2 กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ 


พิธีชักพระทางบก          

          ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนวันชักพระ 2 วัน จะมีพิธีใส่บาตรหน้าล้อ นอกจากอาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของงาน คือ "ปัด" หรือข้าวต้มผัดน้ำกะทิห่อด้วยใบมะพร้าว บางที่ห่อด้วยใบกะพ้อ (ปาล์มชนิดหนึ่ง) ในภาคกลางเขาเรียกว่า ข้าวต้มลูกโยน ก่อนจะถึงวันออกพรรษา 1 - 2 สัปดาห์ ทางวัดจะทำเรือบก คือ เอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาทำเป็นพญานาค 2 ตัว เป็นแม่เรือที่ถูกยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วปูกระดาน วางบุษบก บนบุษบกจะนำพระพุทธรูปยืนรอบบุษบกก็วางเครื่องดนตรีไว้บรรเลง เวลาเคลื่อนพระไปสู่บริเวณงานพอเช้าวัน 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ 2 เส้นที่ผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว เมื่อถึงบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่างๆ กลางคืนมีงานฉลองอย่างมโหฬาร อย่างการชักพระที่ปัตตานีก็จะมีชาวอิสลามร่วมด้วย

พิธีชักพระทางน้ำ

          ก่อน ถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทางวัดที่อยู่ริมน้ำ ก็จะเตรียมการต่างๆ โดยการนำเรือมา 2 - 3 ลำ มาปูด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือพนมพระประดับประดาด้วยธงทิว ในบุษบกก็ตั้งพระพุทธรูป ในเรือบางที่ก็มีเครื่องดนตรีประโคมตลอดทางที่เรือเคลื่อนที่ไปสู่จุดกำหนด คือบริเวณงานท่าน้ำที่เป็นบริเวณงานก็จะมีเรือพระหลายๆ วัดมาร่วมงาน ปัจจุบันจะนิยมใช้เรือยนต์จูง แทนการพาย เมื่อชักพระถึงบริเวณงานทั้งหมด ทุกวัดที่มาร่วมจะมีการฉลองสมโภชพระ มีการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน เช่น แข่งเรือปาโคลน ซัดข้าวต้ม เป็นต้น เมื่อฉลองเสร็จ ก็จะชักพระกลับวัด บางทีก็จะแย่งเรือกัน ฝ่ายใดชนะก็ยึดเรือ ฝ่ายใดแพ้ต้องเสียค่าไถ่ให้ฝ่ายชนะ จึงจะได้เรือคืน

          ใน เขตที่มีบ้านเรือนอยู่ในเขตแม่น้ำลำคลองก็จะมีพิธีรับพระเช่นกัน อย่างที่อำเภอบางบ่อ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทางวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปยืนลงบุษบกในตัวเรือแล้วแห่ไปตามลำคลอง ชาวบ้านก็จะโยนดอกบัวจากฝั่งให้ตกในเรือหน้าพระพุทธรูป แล้วโยนข้าวต้ม และยังมีการแข่งขันเรือชิงรางวัลอีกด้วย หรือจะเป็นประเพณีตักบาตรพระร้อย ที่เป็นการใส่บาตรพระร้อยรูป ส่วนมากจะจัดพิธีขึ้นทางน้ำเนื่องจากแต่ก่อนบ้านเรือนจะอยู่ติดแม่น้ำลำคลอง การสัญจรไปไหนมาไหนก็จะใช้เรือ พระส่วนใหญ่จึงใช้เรือในการออกบิณฑบาต

กิจกรรมต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติใน วันออกพรรษา

           1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

           2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา

           3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

           4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

           5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

           6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้

           เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล

           การ ทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน

           ได้ ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา

           เป็น การให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

          ดัง นั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/26828

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีใช้หนี้พ่อแม่



พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม)
 
วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลย จงสร้างความดีให้กับตัวเอง และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง ตัวเราพ่อให้หัวใจ แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองอยู่ในตัวแล้ว จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน บางคนรังเกียจแม่ ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกลูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียน ยืดเยื้อกันต่อไปอีก
พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ไม่ต้องไปตามพระอรหันต์ที่ไหนหรอก เหลียวดูพ่อแม่ในบ้านบ้าง แล้วท่านจะรู้สึกว่า ได้ทำดีตั้งแต่วันนี้แล้ว ฯลฯ
อย่ายืนพูด กับพ่อแม่ อย่าบังอาจ กับพ่อแม่ พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก ก่อนออกจากบ้าน จึง ต้องกราบพ่อแม่ ๓ หน ที่เท้าฯ
ท่านโปรดจำไว้ วันเกิดของลูก คือ วันตายของแม่ เพราะวันที่ลูกเกิดนั้น แม่อาจต้องเสียชีวิต การออกศึกสงครามเป็นการเสี่ยงชีวิต สำหรับคนเป็นพ่อฉันใด การคลอดลูก ก็เป็นการเสี่ยงตาย สำหรับคนเป็นแม่ฉันนั้นฯ
ถ้าวันเกิดเลี้ยงเหล้า จดไว้เลย จะอายุสั้น จะบั่นทอนอายุให้สั้นลง น่าจะสวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรมให้พ่อ แม่ วันเกิดของเรา คือวันตายของแม่เรา ไปกราบพ่อกราบแม่ ขอพรพ่อแม่ รับรองพ่อแม่ให้พรลูกรวยทุกคน ไปเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่ม ค่อยไปเลี้ยงเพื่อนฯ
สอนเด็กว่า วันเกิดของเรา อย่าพาเพื่อนมาให้พ่อแม่ทำครัวเลี้ยงนะ เธอจะบาป ทำมาหากินไม่ขึ้น เธอต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่มก่อน แล้วจึงไปเลี้ยงเพื่อนทีหลังฯ
ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้ว ก็ให้หมั่นทำบุญ อุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะ ทำบุญด้วยการเจริญกรรมฐาน แล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบ เท้าขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่าน ก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรม ล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษฯ
ขอฝากท่านไว้ไปสอนลูกสอนหลาน อย่าคิดไม่ดี กับพ่อแม่เลย ไม่ต้องถึงกับฆ่าหรอก แค่คิดว่าพ่อแม่เราไม่ดี เราจะทำมาหากินไม่ขึ้น เจ๊ง ท่านต้องแก้ปัญหาก่อน คือถอนคำพูด ไปขอสมาลาโทษเสีย แล้วมาเจริญกรรมฐาน รับรองสำเร็จแน่ มรรคผลเกิดแน่ฯ
บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะ การเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาตสอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อเถียงแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อกับแม่ ไม่อย่างนั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลัง ดำน้ำ ไม่โผล่ฯ
บ้านหนึ่งพ่อมีเมีย ๔ คน เมียหลวงบอกลูกว่า พ่อเจ้าไม่ดี ลูกก็ไปด่าพ่อ ว่าพ่อ แล้วมาบวชวัดนี้ บวชแล้วเดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่ จนจะกลายเป็นโรคประสาท นี่แหละ บวชก็ไม่ได้ผล หลวงพ่อก็ให้ไปถอนคำพูดและขอสมาลาโทษกับพ่อเขาก่อน แล้วกลับมานั่งกรรมฐานจึงได้ผล ( case นี้ หลวงพ่อจะเตือนผู้เป็นลูกบ่อยๆ ไม่ให้ว่าพ่อ แต่ให้เป็นเรื่องของแม่ที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งหลวงพ่อสอนไว้แล้ว : ผู้รวบรวม) ฯ
เมื่อเร็วๆนี้ ฆ่าพ่อตาย แม่สงสาร พามาเจริญกรรมฐาน พอเข้าวัดมันร้อนไปหมด ปวดหัวเข้าไม่ได้ นี่เวรกรรมตามสนอง ปิตุฆาต มาตุฆาต ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ทำกรรมฐานไม่ได้แน่นอน ต้องหันรถกลับ นี่เรื่องจริงในวัดนี้ฯ
คนที่มีบุญวาสนา จะกตัญญูกับพ่อแม่ คนเถียงพ่อเถียงแม่ เอาดีไม่ได้ คนไม่พูดกับพ่อแม่ นั่งกรรมฐานร้อยปี ก็ไม่ได้อะไร? ถ้าไม่ขออโหสิกรรมฯ
ขออโหสิกรรม ที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์ คิดไม่ดีกับพี่ๆ น้องๆ จะไม่เอาอีกแล้ว เอาน้ำไปขันหนึ่ง เอาดอกมะลิโรย กาย กัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส อันว่า โทษทัณฑ์ใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพี่ คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำรดมือ รดเท้าฯ
นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็น หนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยัง จะไปทวงนา ทวงไร่ ทวงตึก มาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ ไปทวงหนี้ พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว (ให้ชีวิต ให้ … ให้ … ให้ … ฯลฯ) เรียนสำเร็จแล้ว ยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้าง รับรองทำมาหากินไม่ขึ้นฯ
หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่ เหลือจะนับประมาณนั้น คือหนี้บุญคุณของบิดามารดาฯ
หนามแหลมใครเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงใครไปกลึง เด็ก ประถม ๔ พ่อเมาเหล้า เมากัญชา เล่นการพนัน แม่เล่นหวย ปัจจุบันเป็นดอกเตอร์อยู่อเมริกา หลวงพ่อสอนครั้งเดียว จำได้ บอกวันเกิดหนูซื้อขนม ๒ ห่อ เรียกพ่อแม่มานั่งคู่กัน แล้วกราบนะลูกนะ แล้วก็บอกพ่อแม่ว่า ความผิดอันใดที่ลูกพลั้งเผลอด้วย กาย วาจา ใจ ที่คิดไม่ดีต่อคุณพ่อคุณแม่ ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้ แล้วล้างเท้าให้พ่อแม่ ลูกไม่มีสตางค์ ลูกซื้อขนมมา ๒ ห่อ ให้แม่ก่อน ๑ ห่อ เพราะอุ้มท้องมา แล้วจึงให้พ่ออีก ๑ ห่อ ลูกขอปฏิญาณตนว่า ลูกขอเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่แล้วจะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ลูกจะไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง พ่อฟังแล้วน้ำตาร่วง สร่างเมา ส่วนแม่ก็ร้องไห้ เลยพ่อแม่ ก็ให้สัญญากับลูกเลิกอบายมุขทั้งหมดฯ
ลูกหลานโปรดจำไว้ เมื่อแยกครอบครัวไปมีสามีภรรยาแล้ว อย่าลืมไปหาพ่อแม่ ถึงวันว่างเมื่อไร ต้องไปหาพ่อแม่ ถึงวันเกิดของลูกหลาน อย่าลืมเอาของไปให้พ่อแม่รับประทาน อย่ากินเหล้าเข้าโฮเต็ลฯ
ของดี ของปู่ ย่า ตา ยาย อย่าไปทำลายเลย ของพ่อแม่อย่าไปทำลายนะ หนีได้แน่นอน โยมมีกรรมฐาน มีทรัพย์มีชื่อเสียง ความรัก บูชาทรัพย์ บูชาชื่อเสียง ความรักของพ่อแม่ได้ เงินจะไหลนองทองจะไหลมา … พ่อแม่ให้อะไร เอาไว้ก่อน อย่าไปทำลายเสีย ถึงจะเป็นถ้วยพ่อแม่ให้มาก็ไว้เป็นที่ระลึกก็ยังดีอย่าเอาไปทิ้งขว้างฯ
ถ้าต้องการเจริญก้าวหน้าขอฝากไว้ด้วย คนเรามี ๒ ก้าว จะก้าวขึ้น หรือก้าวลงดำน้ำไม่โผล่ ก้าวลงมันง่ายดี ก้าวขึ้นมันต้องยาก ของชั่วมันง่าย หลั่งไหลไปตามที่ต่ำ นี่บอก สอนลูกหลาน ต้องการจะบรรลุงานไม่ต้องไปวิ่งเต้น ดูลูกเสียก่อนกุศลเพียงพอหรือเปล่า ต้องเพิ่มกุศล ตัวอย่าง เรียนจบครู สวดมนต์เข้าเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นครู ทำงานธนาคารก็ได้ บริษัทก็ได้เดี๋ยวมีคนรับ บางรายทั้งสอบทั้งสมัคร หลายแห่งไม่เคยเรียกเลย อาตมาให้นั่งกรรมฐาน พอ ๗ วัน ผ่านไปพวกมาตามให้เข้าไปทำงานแล้วฯ
การสอนลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง คือ ผู้เป็นแม่ต้องหมั่นสวดมนต์ เป็นประจำฯ
พ่อแม่ไม่ต้องบังคับลูกสวดมนต์ แต่พ่อแม่ต้องสวดมนต์ให้เป็นตัวอย่าง แล้วเขาจะสวดเองฯ
พ่อแม่เลี้ยงลูก เปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ ปลูกอย่างมีระเบียบแบบแผน ต้นไม้ก็จะขึ้นอย่างมีระเบียบสวยงาม ตามแบบตามแผนที่วางไว้ ถ้าปลูกอย่างไม่มีระเบียบ นึกจะปลูกตรงไหนก็ปลูก เกะกะหาความสวยงามไม่ได้ จะไปโทษต้นไม้หรือคนปลูกฯ
โบราณท่านว่าไว้ รักลูกคิดปลูกฝังให้ลูกตั้งตนฝึกรักศึกษาให้ลูกได้ดี มีปัญญา มีวิชาให้ลูกตั้งตนเป็นคนดี ต้นไม้ต้องปลูกตั้งแต่เล็กๆ โตแล้ว แย่มาก ปลูกไม่ขึ้น ปลูกถี่มันขึ้นถี่ ปลูกห่างมันขึ้นห่างฯ
พ่อแม่สมัยใหม่ ไม่มีเวลาใกล้ชิดลูก เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวัน หมดไปกับการทำธุรกิจ หาทรัพย์สินเงินทอง มาปรนเปรอความสุขให้ลูกหลาน หาวัตถุสิ่งของที่จะสนองความต้องการของลูก เพื่อความสุขสบาย บ้างก็หาหนังให้ลูกดู ทั้งที่ลูกยังอยู่ในวัยเรียนวัยศึกษา แล้วลูกไม่ดีขึ้นมาในภายหลัง อย่าไปด่าลูกนะ เพราะพ่อแม่เป็นคนก่อสร้าง ปลูกนิสัยลูก และพ่อแม่ไม่ให้ความอบอุ่นแก่ลูก ไม่ให้การแนะแนวแก่ลูกฯ
โบราณว่าไว้ มีลูกมีหลานจะต้อง แต่งใจลูก แต่งตัวลูก และแต่งงานลูก แต่งใจลูก ก็คือ พาลูกหลานไปวัด ให้มีความสัมพันธ์กับวัด เห็นพระสงฆ์สอนลูกยกมือไหว้พระ อยู่บ้านก็สอนลูกสวดมนต์ไหว้พระ ให้มีค่านิยมพื้นฐานฯ
ตอนลูกยังเล็ก อย่าห่างลูก อย่าทิ้งลูก ต้องดูแลลูกให้ดี ลูก เราอยากได้ดีมีปัญญาทุกคน แต่เขาไม่ทราบ เขาไม่เข้าใจ ทำไมไม่บอกเขา … อาตมาไม่โทษเด็ก เด็กเขาเกิดมา อยากเป็นพระเอกนางเอกทั้งนั้น อยากรวย อยากสวย อยากดี อยากมีปัญญา แต่เขาไม่รู้ เขาไม่ทราบ เขาไม่มีวันเข้าใจฯ
ห่วงผูกคอ คือ จะกินอะไรก็ห่วงลูก พ่อแม่ถึงจะหิวอย่างไร หากว่าลูกอยากรับประทาน ก็ต้องให้ลูกก่อนไม่เช่นนั้นแล้ว มันจะติดอยู่ที่คอ ห่วงผูกแขน คือสามีภรรยา ห่วงผูกขา คือทรัพย์สมบัติฯ
ถ้าท่านเป็นสามีภรรยาทะเลาะกัน ลูกจะหาความสุขไม่ได้นะ ขอฝากไว้ พ่อแม่รักกันดี ปรึกษาหารือกันดี ลูกจะดีใจมาก มีความสุขฯ
พ่อแม่ ต้องสร้างความดีไว้ให้กับลูก ทำถูกไว้ให้กับหลาน รักลูกให้ถูกวิธีทำความดีให้ลูกดู เดี๋ยวนี้ทำความชั่วให้ลูกดู กินเหล้าให้ลูกเห็น เล่นการพนันให้ลูกเห็น ทะเลาะกันให้ลูกได้ยิน ขอฝากพ่อบ้าน แม่บ้านไว้ด้วย ถ้าเกิดจำเป็น จะทะเลาะกัน อย่าให้ลูกได้ยิน เกิดจะร้องไห้ น้ำตาไหลขึ้นมา โปรดกรุณาไปร้องในห้องสุขา อย่าไปร้องไห้ให้ลูกเห็นฯ
หน้าที่ของคน คือรับผิดชอบ หน้าที่การงาน คนเราจะอยู่ได้ด้วยหน้าที่และการงาน พ่อแม่รับผิดชอบ คือรักลูก คิดปลูกฝัง ให้ลูกตั้งตนฝึกรักศึกษา ให้ลูกได้ดีมีปัญญา มีวิชาตั้งตนให้ลูกเป็นคนดี บุตรธิดาก็ต้องรับผิดชอบ ด้วยการศึกษาเล่าเรียน หาเหตุหาผล ว่านอนสอนง่ายฯ
พ่อแม่ ช่วยลูกได้ ลูก ช่วยพ่อแม่ได้ด้วยกรรมฐานฯ
แม่นั้นสำคัญมาก แม่ต้องรักษาลูกไว้ แม่ที่ดีต้อง เป็นแม่แบบ แม่แผน แม่แปลน แม่บันได แม่บ้าน แม่ศรีเรือน อยู่ตรงนี้ ลูกจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับแม่เป็นหลักให้ลูกไม่ใช่พ่อ ถึงพ่อจะดีแสนดี แต่แม่ฉุยแฉกแตกราน สุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จัก เก็บงำให้ดี ไม่เป็นแบบที่ดีของลูก รับรองเจ๊งแน่ฯ
แม่บ้านดี ลูกดีหมด แม่บ้านดี ผัวเป็นอะไรก็ได้ เป็นนายพลได้ เป็นเจ้าเมืองได้ เป็นอาเสี่ยได้ฯ
ผัวขี้เหล้าเมายาไม่เป็นไร ถ้าภรรยาดีซักคน ลูกดีแน่ ผัวกินเหล้าเจ้าชู้ อย่าไปสนใจ เราจะไปตามผัวคนชั่วมาทำไม ดูแลลูกให้ดี สวดมนต์ ทำกรรมฐานแผ่เมตตาให้เขามีความสุข เดี๋ยวผัวดีคนเดิมก็กลับมา
(ผู้หญิงคนหนึ่ง มีลูก ๕ คน ดูแลลูกอยู่คนเดียว สามีไม่เคยมาเหลียวแลเลย ตลอด ๑๖ ปี ดิ้นรนหาเลี้ยงลูก จากลูกจ้างไต่เต้าจนขึ้นมาเป็นผู้จัดการอยู่อังกฤษ ลูกดีหมด อีกรายหนึ่ง แม่ความรู้ ป . ๔ สวดมนต์แผ่เมตตาทุกวัน ทำกรรมฐานเป็นประจำ ตัวเองค้าขายร่ำรวยดี ทำอะไรก็ได้มรรคได้ผล ลูกสาว ๔ คนประสบความสำเร็จ ทั้งการศึกษาและหน้าที่การงาน) ฯ
ขอทานสองคนสามีภรรยา ได้เงินมาจะทำบุญส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งซื้ออาหารเลี้ยงลูก ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำ หลวงพ่อติดตามผลมานานปี จนขอทานสองคนผัวเมียตายไปแล้ว ต่อมาลูกหลานก็ร่ำรวย เป็นเศรษฐีมั่งมีศรีสุข อยู่กรุงเทพก็มี มีเงินเป็นร้อยล้าน อยู่ที่สหรัฐอเมริกาก็มี ท่านเลี้ยงลูกขอให้มีอัธยาศัยตั้งแต่เด็กๆ โตขึ้นว่านอนสอนง่ายหมดทุกคนเลยนะฯ
อย่าให้ลูก อยู่ว่าง อย่าให้ ห่างผู้ใหญ่ นกอยู่ในกรงให้รีบสอน ออกไปแล้วจะตามไปสอนอย่างไรฯ
จะมีเขยมีสะใภ้ ขอให้เลือกคนดีอย่าไปเอาลูกเศรษฐี คนดีมีปัญญา อยู่ที่ไหนก็เจริญฯ
เอาละหนู หนูไปฝึกจิตสูงเมื่อใด หนูจะได้สามีจิตสูง ถ้าหนูจิตต่ำเมื่อใด หนูจะได้สามีเป็นคนใจต่ำฯ
ท่านทั้งหลาย พ่อเปรียบเป็นรั้วบ้าน ให้ความแน่นหนา ไม่ให้ใครมารังแกลูกได้ แม่เปรียบเป็นอาคาร มั่นคงในจิตใจ ลูกทุกคนเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านฯ
พาลูกเข้าวัดตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว จะมองเห็นพระเป็นตุ๊กตา ต้องพามาตั้งแต่เด็กๆ จะได้เรียบร้อยฯ
ลูกนำพ่อแม่มาเข้าวัด เป็นอภิชาตบุตร พ่อแม่ไม่มีทาน ให้พ่อแม่บำเพ็ญทาน พ่อแม่ไม่มีศีลให้พ่อแม่บำเพ็ญศีล พ่อแม่ไม่มีภาวนา ให้พ่อแม่มาสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรมฯ
พี่น้องต้องรักใคร่ปรองดองกันไว้ พี่รักน้อง น้องรักพี่ สร้างความดีให้พ่อแม่ พี่ชายคนโตเปรียบเหมือนพ่อ พี่สาวคนโตเปรียบเหมือนแม่ อย่าทะเลาะกัน บ้านไหนทะเลาะกันบ้านนั้น อัปมงคลฯ
 
กัน อยู่ที่ แม่
แก้ อยู่ที่ พ่อ
ก่อ อยู่ที่ ลูก
ปลูก อยู่ที่ ครู
ความรู้ อยู่ที่ ศิษย์
เป็นมิตรกันฯ
 
รัก วัว ต้อง ผูก
รัก ลูก ต้อง ตี
รัก มี ต้อง ค้า
รัก หน้า ต้อง คิด
รัก มิตร ต้อง เตือนกันฯ
 
ลูกปฏิบัติกรรมฐาน อุทิศให้พ่อแม่ พ่อแม่จะมีอายุยืน อารมณ์ดี อย่าโมโห อย่าด่า อย่าฆ่าสัตว์ อย่าโกรธ อย่าอิจฉา อย่าริษยา จะทำให้อายุยืน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพดี … คนบาป คนโมโห อายุ ๖๐ จะขาดสติ จะขี้หลงขี้ลืมฯ
ถ้าจะขึ้นบ้านใหม่ ให้ขึ้นวันพฤหัสบดี ซื้อผ้าใหม่ให้พ่อแม่สวมใส่ ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ก็ไปเชิญปู่ ย่า ตา ยาย ก็ได้ แล้วเชิญท่านมานั่งบนผ้าขาวที่เราปู เตรียมไว้ให้นั่ง ตัวเราก็ไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้วเราก็กราบท่าน ขอพรจากท่าน จำไว้ พ่อแม่ให้พรลูกรับรองรวยทุกคน แล้วให้ท่านเจิมบ้านให้ ไม่จำเป็นต้องไปนิมนต์พระมาทำพิธีเสมอไปฯ
ลูกต้องการอะไร ? เด็กต้องการอะไร ? ..... พ่อแม่ที่เคารพโปรดทราบ
. ลูกต้องการความรัก โปรดให้ความรักความอบอุ่นกับลูก อย่าทิ้งลูก พ่อแม่รักลูกเท่ากัน แต่ห่วงใยลูกไม่เท่ากัน
. ลูกต้องการความรู้ ทำไม ลูกต้องซน ค้นโน่นค้นนี่ จับโน่นแตก น่าจะเข้าใจลูกว่า ลูกต้องการความรู้ อยากจะรู้ โปรดเมตตากับลูก สอนลูกดีๆ พูดไพเราะ อย่าตีลูก ถ้าถ้วยแตกซื้อใหม่ได้ แต่อยากเจริญพรถามว่า ลูกแตกไปซื้อได้ที่ไหน
. ลูกต้องการอิสรเสรีไม่ชอบบังคับ เด็กมันต้องดุกดิก เด็กนั่งเฉยๆ ไม่ได้ อย่าบังคับลูกเกินไปฯ
รักลูกให้เหมือนปลูกต้นโพธิ์ เมื่อใหญ่เมื่อโต จะ ได้อาศัย ถึงคราวเจ็บจะ ได้ฝากไข้ ถึงคราวตายจะ ได้ฝากผี เวลาดีเอา ไว้ใช้สอยบ้างประไรมี รักลูกเหมือนปลูกต้นตาลโตไปจะไม่มีหลักฐานฯ
เลี้ยงลูกให้โต ปลูกต้นโพธิ์ให้ได้ร่ม ให้โตด้วยวิชาการ ให้มีหลักฐาน มีงานทำ มีคู่ครองขอให้เป็นทองแผ่นเดียวกัน อย่าให้โตด้วยข้าวสุก หาความสนุกในสังคมฯ
ถ้าเป็นเด็ก ขี้เกียจ ขี้โกหก ขี้ขโมย ต้องตี ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ขี้เหล้า เล่นการพนัน ต้องห่างไกลฯ
มาถึงตอนนี้ขอฝากญาติโยมเลยนะ ถ้ามีลูกสาวกับลูกชายนี่ โยมจะเอาใจใส่ใครมาก โยมจงเอาใจใส่ลูกสาว ให้เชี่ยวชาญชำนาญกว่าลูกชาย เพราะถ้าไม่มีวิชาความรู้นี่ ไม่เชี่ยวชาญเคหะศาสตร์ ไม่เข้าใจแม่บ้านการเรือน ไปได้สามีเขาก็จะแผลงฤทธิ์เอาฯ
อย่า สอนลูกขณะกำลัง ทานข้าว
อย่า สอนลูก ขณะกำลัง อ่านหนังสือทำการบ้าน
อย่า สอนลูกขณะที่ ลูกกำลังจะนอน
จง สอนลูก หลังจากลูกสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้วฯ
คนโบราณสอนไว้ว่า พ่อแม่ตักเตือนต้องนิ่ง ต้องดุษณีภาพ ต้องรับฟัง ต้องยอมรับด้วยความจำนนและเหตุผลในตน คนโบราณได้สร้างความดีให้กับลูก สร้างความถูกให้กับหลาน ลง ทุนสร้างความดี อดทนต่อความลำบากได้ทุกประการ ผิดกับคนในสมัยนี้ สร้างความชั่วไว้ในใจ กินสบาย นอนสบาย นอนตื่นสาย หน่ายหากิน หมิ่นเงินน้อย นั่งคอยวาสนาให้มาหาเอง ไม่เหมือนคนโบราณ ที่เขาต้องวิ่งไปหาวาสนา คือ ทำมือสอง เท้าสอง สมองหนึ่ง เป็นที่พึ่งฯ
อย่าเถียงพ่อแม่ ไม่เถียงครูบาอาจารย์ ไม่เถียงผู้ใหญ่ ต้อง ดุษณีภาพนิ่งไว้ด้วยความเคารพ ถึงท่านจะผิดถูกประการใด ท่านเป็นรัตตัญญู รู้กาลเวลากว่าเรา บอกว่าเราเป็นเด็กเกิดมาภายหลัง เราว่าท่านพูดไม่ถูกสำหรับเรา แต่ถูกสำหรับท่านนะ พ่อแม่เกิดมาก่อน อย่าเถียงนะ เป็นบาปฯ
คุณหนู หมั่นจด หมั่นจำ หมั่นจำ หมั่นจด สิ่งใดงาม อย่าได้งด คุณหนู หมั่นจด หมั่นจำ เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริง เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริงฯ
สามรู้ สามดี ห้ามีปัญญา เอาไปสอนลูกหลาน
•  รู้ ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
•  รู้ อะไรไม่สู้รู้วิชา
•  รู้ รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
ดี ที่เป็นที่ปรารถนาของทุกคน
ดี ที่เป็นที่สนใจของทุกคน
ดี ที่ละชั่วได้
(ท่านมาสร้างบุญ ต้องละบาป มาสร้างความดี ต้องละความชั่ว จึงจะเป็นที่ปรารถนาของทุกคน เป็นที่สนใจของทุกคน เรียกว่า ความดี)
๑ . ภูมิ รู้ ๒ . ภูมิ ธรรม
๓ . ภูมิ ฐาน ๔ . ภูมิ ปัญญา
๕ . ภูมิ ปัจจุบัน
(อดีตอย่ารื้อฟื้น เรื่องของคนอื่นอย่าคิด กิจที่ชอบทำให้เสร็จ อย่าเดี๋ยว นี่ภูมิปัจจุบัน) ฯ
บอกลูกหลานไว้ด้วยว่า อยากมีปัญญาดีมั๊ย ขัดส้วม รับรองปัญญาดีทุกคน ไม่ใช่เรื่องโกหก อาตมาไปซื้อบานประตูหน้าต่างจากกำแพงเพชร ไปเจอเด็กคนหนึ่ง เจ้าของร้านบอกหลวงพ่อว่าหลานคนนี้หัวไม่เอาไหนเลย สอบตกอยู่เรื่อย อยากจะเรียนหนังสือเก่ง ทำอย่างไรจะมีปัญญา หลวงพ่อก็บอกให้มาบวชเณรที่นี่ (ปัจจุบัน ที่วัดไม่รับบวชเณร) พอบวชแล้วบอกเณรขัดส้วม ขัดไปขัดมาก็รักความสะอาด อยู่มาได้หน่อยสึกแล้วไปเรียนหนังสือต่อ เรียนไปเรียนมากลายเป็นผู้พิพากษาไปสอบได้ที่หนึ่งเลย นี่ขัดส้วมฯ
นานมาแล้ว คนเป็นขี้ทูดแต่ไม่รู้มาก่อนมาบวชที่วัดอัมพวัน อยู่ต่อมาก็มีอาการกำเริบจึงขอให้หลวงพ่อช่วย และปรารภสึกออกไป แล้วอยากได้เมียสวยหลวงพ่อแนะนำดังนี้
๑ . สวดพาหุงมหากาฯ
๒ . ทำกรรมฐาน
๓ . ขัดส้วมวัด
สองสามเดือนผ่านไป ขี้ทูดหาย เล็บงอกเป็นปกติ หน้าตาเกลี้ยงเกลา ลาสึกไปเรียนจนจบรามคำแหง ต่อปริญญาโทจุฬาและพบภรรยาลูกสาวเจ้าของเหมือง (สวยรวย ตามที่ขอกับหลวงพ่อไว้) ปัจจุบันเป็นรองศาสตราจารย์ ไปอยู่อเมริกาฯ
พระพุทธเจ้าสอนว่า “ คนเราจะรักกัน ต้องกินข้าวหม้อเดียวกัน อยู่บ้านเดียวกันจึงจะรักกัน ” พ่อไปทาง แม่ไปทาง พ่อแม่ สร้างปมด้อยไว้กับลูกฯ
ขอฝากข้อคิดไว้สอนลูกหลานบ้านใดอยากจน จะมีขี้ ๓ กอง คือ
•  ขี้เมา ๒ . ขี้เล่น ๓ . ขี้เกียจ
ถ้าอยากรวยเป็นเศรษฐี เอาขี้สามกองทิ้งให้หมด ข้อสำคัญ รวยเงินรวยทองเป็นเศรษฐีแล้วขอให้เป็นคนรวยน้ำใจด้วย จะเป็นที่ชื่นชมรักใคร่ของทุกคนฯ
ถ้าไปเรียนต่อต่างประเทศ หลวงพ่อขอฝากไว้
•  ให้พักอยู่คนเดียว ไม่เช่นนั้นจะชวนกันเที่ยว ดูหนังสือก็ดูคนเดียว จะได้ไม่คุยกัน
•  สวดมนต์ เพื่อให้มีสมาธิ
•  ปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อให้มีสติ คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ไว้ จะได้มีกำลังใจ แล้วหลวงพ่อจะแผ่เมตตาช่วย ขอให้ปฏิบัติตาม รับรองจบทุกคนฯ
เสียงแม่กับเสียงพ่อ เหมือนระฆังที่สอนเรามา เสียงอะไรจะไพเราะเท่าเสียงพ่อแม่ไม่มีแล้ว เสียงอะไรเล่า จะเสียงดังเท่าระฆัง เสียงแม่ที่สอนลูกรักให้ดี ให้มีปัญญา ให้ลูกมีวิชาความรู้ฯ
สนองพระเดชพระคุณบิดามารดาไม่ยาก สร้างความดีให้มากได้ไหม อย่าให้พ่อแม่ผิดหวังฯ
ไม่ได้เตรียมตัวไว้ ต้องพึ่งตัวเอง หลวงพ่อไปธุระแถวบางระจัน ก็เลยแวะเยี่ยมโยมหญิงคนหนึ่งเป็นอัมพาต ช่วยตัวเองไม่ได้ เหม็นอุจจาระมาก ตั้งแต่เช้ายังไม่ทานอะไรเลย สักพักหนึ่งมีรถ BMW วิ่งเข้ามาจอดที่บ้าน ในรถมีคนห้าคน ทั้งหมดขึ้นมาบนบ้าน หลวงพ่อถามว่า หนูเป็นใคร เขาบอกว่าเป็นลูก เรียนปริญญาโทจุฬา จะไปเผาศพญาติของเพื่อนที่อยุธยา เลยแวะมาหาแม่เพื่อจะบอกว่าเดือนหน้าขอเงินสี่หมื่นไปพิมพ์วิทยานิพนธ์ หลวงพ่อบอกว่า ไหนๆมาแล้วช่วยซักผ้าให้แม่หน่อย อุจจาระเต็มไปหมด แม่ยังไม่ได้ทานข้าวเลย นี่แม่ของเธอนะ ถ้าเป็นแม่ของหลวงพ่อจะซักให้เดี๋ยวนี้เลย มีวินัยอนุญาตให้ทำได้ นี่ แม่เธอนะ เธอทำ เธอก็ได้บุญ แต่ลูกสาวบอกว่า ไม่ได้ค่ะ ต้องรีบไป แม่ร้องไห้โฮเลย และบอกหลวงพ่อว่าลูกคนนี้หมดนาไป ๔ – ๕ แปลงแล้ว จะมาเอาอีกแปลงหนึ่ง รถ BMW ก็ยังส่งไม่หมด เมื่อย้อนดูตัวแม่ ปรากฏว่า ตนเองก็ไม่เคยซักผ้าให้แม่ และแม่ก็เป็นอัมพาตตาย ไม่เคยอยู่ปฏิบัติแม่ เพียงไปเยี่ยมแล้วก็กลับ พอมาถึงตัวเองก็เป็นอย่างนี้แหละหนอ ไม่ได้เตรียมตัวเลย ไม่เคยเจริญกุศลภาวนา ไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระ ไม่เคยปฏิบัติกรรมฐานแต่ประการใด จึงเป็นดังที่กล่าวมา การเตรียมตัวนี้ต้อง เจริญกุศลภาวนา ถึงจะรู้กฎแห่งกรรมจากการกระทำ ถึงจะแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างแน่นอน ในที่สุด นาก็หมด บ้านก็หมด พ่อแม่ต้องขายเอาเงินแจกลูกไป นี่เป็นกฏแห่งกรรมฯ
 
ไม่ดื้ออย่างเดียว ดีหมดทุกอย่าง อมตวาจา พระพรหมมังคลาจารย์ พระเดชพระคุณหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
 

 
 
 
หน้าที่ของเด็ก
หน้าที่ของเด็กที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ ควรประพฤติตนอย่างไร?
 
อันนี้สำคัญ หนูจำไว้ให้ดี เขียนไว้ให้ชัดว่า
 
เด็กมีหน้าที่ทำทุกสิ่งทุกอย่าง
ให้พ่อแม่สบายใจ
พูดแต่เรื่องที่พ่อแม่สบายใจ
ทำแต่เรื่องที่พ่อแม่สบายใจ
คบเพื่อนก็ให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ
จะไปไหนก็ไปในที่คุณพ่อคุณแม่สบายใจ
ถ้าเราไปในเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจ
ก็เรียกว่าลูกคนนั้นทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
ไม่รักคุณพ่อคุณแม่
 
 
คนที่รักคุณพ่อคุณแม่ ต้องทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ จะทำอะไร จะพูดอะไร จะไปที่ไหน จะเกี่ยวข้องกับใคร ก็ต้องนึกไว้เสมอว่า เรื่องนี้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เราเดือดเนื้อร้อนใจหรือไม่
ถ้าเรื่องอันใดที่เราทำลงไปแล้ว ทำให้คุณพ่อคุณแม่เดือดเนื้อร้อนใจ เรื่องนั้นไม่ควรแก่เรา เราไม่ควรทำเรื่องนั้น ถ้าเราขืนทำเรื่องนั้นไป เราก็ไม่เป็นลูกที่สมบูรณ์ ไม่เป็นลูกที่รักคุณพ่อคุณแม่ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ให้จำหลักนี้ไว้ให้ดี ถ้าเด็กๆที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่ได้ประพฤติตามหลักการนี้ คือประพฤติแต่สิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ ก็นับว่าเรียบร้อย จะไม่เกิดปัญหาอะไร
ในตอนสุดท้ายหลวงพ่ออยากจะบอกว่า ประเทศไทยเราเวลานี้มีคนมาก ถ้ามีความรู้เพียงแค่นิดหน่อย มันไม่พอกินพอใช้ เราต้องเรียนให้เก่ง เรียนให้ดี ฉะนั้น ทำอะไร … ให้ดีที่สุด หนูจำคำนี้ไว้ว่า “ ทำอะไร ทำให้ดีที่สุด ทำให้สุดความสามารถของหนูทุกคน ”
หน้าที่ของลูก
พระสุธรรมเมธี (เขมกะ) : เรียบเรียง
 
พ่อ แม่ ผู้ให้กำเนิดชีวิตลูก
เนื่องด้วยพ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกอย่างมากมายเหลือที่จะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ตั้งแต่ท่านทั้งสองเป็น ผู้ให้กำเนิดชีวิตเรา เป็นตัวตนขึ้นมาเป็นปฐม แล้วได้อุตส่าห์ ถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู ประคับ ประคองมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งทั้งพ่อแม่ยังไม่มีโอกาสรู้เลยว่าลูกนั้นเป็นหญิงหรือชาย รูปร่างจะเป็นอย่างไร จะมีอาการครบ ๓๒ หรือตาบอด ขาด้วน ท่านทั้งสองก็ไม่คำนึง มีความดีใจแต่ว่าเราจะได้ลูกแล้ว ต้องทรมานคุณแม่อยู่ในครรภ์ให้เกิดความลำบาก อึดอัดถึง ๙ – ๑๐ เดือน ครั้นเวลาจะคลอดเล่า … ก็ทำทุกขเวทนาความเจ็บปวดให้เกิดแก่คุณแม่อย่างแสนสาหัสที่สุด จนท่านทนต่อความเจ็บปวดไม่ไหว ต้องร้องครวญคราง ออกมาก็มี บางทีท่านต้องพิกลพิการหรือตายไปเพราะการคลอดลูกก็มี โบราณจึงกล่าวไว้ว่า ศัตรูที่ยิ่งใหญ่ของสตรีคือการคลอดลูก
พอลูกออกมาแล้ว แลเห็นลูกสมบูรณ์ปลอดภัยก็รู้สึก ปลื้มใจถึงกับยิ้มทั้งน้ำตา นี่แสดงถึงน้ำใจของคุณแม่ที่มีความรักต่อลูกมากถึงขนาดไหน จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบกับพระคุณของแม่ได้เล่า
 
ความรักและน้ำใจของพ่อแม่
ต่อจากนั้น ทั้งพ่อทั้งแม่ก็กุลีกุจอช่วยกันประคับประคอง อาบน้ำ ป้อนข้าว เลี้ยงดูฟูมฟัก ทะนุถนอม ชนิดที่เรียกว่าเรือดไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอมทีเดียว
เวลาร้อน … แม่ทนได้ และยังอุตส่าห์เอาพัดมาโบกวีพัดให้ลูกได้รับความเย็นสบาย แล้วนอนดูดนมของแม่อย่างเปรมปรีดิ์
หากลูกยังไม่หลับแล้วแม่จะไม่ยอมหลับเลย ต้องเห่กล่อมขวัญจนกว่าลูกจะหลับ ตนเองต้องจัดแจงอย่างอื่นๆ ให้เรียบร้อยก่อน จึงเริ่มนอนได้ บางทีพอลงมือนอน ลูกตื่นร้องขึ้นมาอีก แม่ก็ต้องรีบกล่อมขวัญให้ลูกกินนมจนหลับเสียใหม่ก่อน แม่จึงจะนอนได้ แม้นอนหลับแล้ว พอได้ยินเสียงอะไรดังกร็อกแกร็ก หรือเสียงลูกร้อง แม่ก็ต้องผวาตื่นดูลูกต่อไป ด้วยใจจดจ่ออยู่แต่ลูก ลูก ลูก เท่านั้น
 
ยอดดวงใจของพ่อแม่
ลูกเป็นเสมือนยอดดวงใจของแม่ ยามที่ลูกพอจะกินข้าวได้บ้างแล้ว แม่ก็พยายามบดแล้วป้อนให้ลูกกิน ด้วยคำยอบ้าง คำหลอกบ้าง หวังจะให้ลูกกินได้มากๆ
แม้ลูกจะกินคำหนึ่งแล้วไปวิ่งเล่น แล้วกลับมากินอีกคำหนึ่ง ดังนี้ แม่ก็พยายามรอป้อนให้ลูกกินจนอิ่ม และกล่อมให้นอนหลับก่อน แล้วแม่จึงจะได้ลงมือกินข้าว
 
น้ำใจเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่
เวลาแม่กำลังกินข้าวหรือทำอะไรอยู่ก่อน เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง ก็ต้องหยุด … รีบมาดูก่อน บางทีลูกถ่ายอุจจาระออกมา แม่ก็ต้องเอามือกวาดชำระล้างให้สะอาดเรียบร้อยก่อน แล้วจึงมากินข้าวต่อไปได้ ลองนึกดูซิว่าจะมีใครเล่าจะยินดีเสียสละทำให้ลูกอย่างเต็มใจถึงเพียงนี้
ถึงคราวที่ลูกเดินได้เตาะแตะ หรือพูดอ้อๆ แอ้ๆ พ่อ แม่ก็แสนจะดีใจ เหนื่อยยากเท่าไรก็ไม่ว่า พ่อก็อุตส่าห์ทำงานหาเงินมาให้แม่เฝ้าเลี้ยงลูก บางคราวพ่อแม่นอนลงก็ให้ลูกเหยียบเต้นเล่นบนอก เอามือทุบหัวบ้าง ดึงผมเล่นบ้าง หยิกลูกตาเล่นบ้าง แทนที่พ่อแม่จะรู้สึกโกรธ กลับดีใจหัวร่อร่าแสนจะปลื้มใจว่า ลูกของตนแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว
ยามใดที่ลูกป่วยไข้ พ่อแม่ก็ไม่เป็นอันกินอันนอน พยายามเฝ้าปฏิบัติคอยดูแลทั้งกลางวันกลางคืน หมอจะมีดีที่ไหนพ่อก็อุตส่าห์ไปขอร้องให้มาดูแลรักษาลูก จะเสียเงินทองสักเท่าไร พ่อแม่ไม่เคยเสียดาย ขอแต่ให้ลูกหายจากป่วยไข้เท่านั้น ถึงเงินทองของตัวไม่มีก็ต้องเอาข้าวของไปจำนำ หรือขอยืมเงินเขามารักษาลูกก่อนจนได้ จะมีใครอีกเล่าที่จะเสียสละ เอาใจใส่ ช่วยเหลือเราเช่นนี้ โดยไม่หวังผลตอบแทนเลย นอกจากคุณพ่อคุณแม่ของเราเท่านั้น
ครั้นลูกเจริญวัยพอสมควรศึกษาเล่าเรียน ได้แล้ว ก็พยายามเอาลูกไปฝากยังสำนักครูอาจารย์ที่เห็นว่าจะสามารถสั่งสอนอบรมลูกให้ เป็นคนดีได้ เมื่อได้เข้าเรียนหนังสือแล้ว ถ้าต้องเดินไปมาและยังเล็กอยู่ ก็อุตส่าห์ไปส่งและไปรับทุกวัน จัดข้าวปลาอาหารและขนมไว้ให้ลูกกินเมื่อเวลาลูกกลับจากโรงเรียน เพราะกลัวลูกจะหิว
เสื้อผ้า … ก็พยายามซักรีดให้จนสะอาด ตัวไหนสกปรกก็ไม่ให้ใส่ กลัวลูกของแม่จะไม่สวย
เวลาว่างตอนเย็นหรือกลางคืน ก็พยายามแนะนำพร่ำสอนว่าสิ่งนั้นไม่ดี ลูกอย่าทำนะ สิ่งนี้ลูกจะทำต้องขออนุญาตคุณพ่อคุณแม่หรือครูเสียก่อน คนนั้นเป็นคนไม่ดีไม่ควรเอาอย่าง คนนี้มีความขยัน มีความประพฤติเรียบร้อย ลูกควรเอาเป็นตัวอย่าง เรียกว่า มีความเป็นห่วงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
จนกระทั่ง ลูกโตสมควรจะมีสามีภรรยา ได้แล้ว ก็จัดแจงตบแต่งให้สมหน้าสมตา และแบ่งทรัพย์สมบัติให้ทำมาหากินจนตั้งตัวเป็นหลักฐาน พ่อแม่ก็จะพลอยยินดีเป็นที่สุด
 
พระพรหมของลูก
ฉะนั้น พ่อแม่ จึงได้นามที่ประเสริฐอีกอย่างว่า เป็นพระพรหมของลูก คือเป็นผู้มี เมตตา กรุณา มุทิตา ในลูกทุกโอกาส
แม้ลูกจะดื้อด้านไม่เชื่อฟังพ่อแม่ จะประพฤติตัวเสียหายจนต้องถูกเขาฆ่าตาย พ่อแม่ก็ยังไม่เกลียดได้แต่วาง อุเบกขา คิดว่าเป็นกรรมของลูกทำมาเพียงเท่านั้น
 
หน้าที่ของลูกในการตอบแทนคุณพ่อคุณแม่
นักปราชญ์ในสมัยโบราณ จึงพรรณนาคุณของพ่อแม่ไว้ว่า หาก จะเอาท้องฟ้ามาเป็นกระดาษ เอาเขาพระสุเมรุมาศมาเป็นปากกา เอาน้ำในมหาสมุทรมาเป็นน้ำหมึก จดจารึกพรรณนาคุณพ่อแม่ไปจนกว่าจักสิ้นกระดาษและน้ำหมึก ก็ไม่สามารถจะพรรณนาคุณพ่อแม่ไว้ได้ครบถ้วน
อาศัยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ลูกทุกคนจึงมีหน้าที่ปฏิบัติต่อพ่อแม่ดังนี้
 
ท่านเลี้ยงเรามา เราต้องเลี้ยงท่านตอบ
ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว ต้องเลี้ยงท่านตอบ ข้อนี้หมายความว่า พ่อแม่ได้เลี้ยงเรามาแล้วเป็นอย่างดี ครั้นเมื่อท่านแก่เฒ่าลง ลูกจึงต้องพยายามเลี้ยงดูท่านเป็นอย่างดี ให้เหมือนกับที่ท่านได้อุตส่าห์เลี้ยงเรามาด้วยความลำบากยากเข็ญดังกล่าวแล้ว วิธีเลี้ยงพ่อแม่นั้นมี ๒ อย่าง คือ เลี้ยงร่างกายหนึ่ง เลี้ยงน้ำใจหนึ่ง
เลี้ยงร่างกาย นั้นได้แก่ พยายามจัดข้าวปลา อาหาร ขนม และลูกไม้อย่างดีๆ แปลกๆ ใหม่ๆ มาบำรุงท่าน ไม่ให้บกพร่องตลอดทุกๆมื้อ เมื่อถึงเวลารับประทานอาหาร
หาเครื่องนุ่งห่มที่ดี เหมาะสมแก่ท่านมาให้ตกแต่งตามสมควร
จัดทำที่อยู่อาศัยให้ท่านได้พักผ่อนอย่างผาสุก
ยามท่านป่วยไข้ ก็รีบจัดหาหมอมารักษาพยาบาลและตนเองก็พยายามเฝ้าคอยดูแลท่าน ไม่ทอดทิ้งให้ท่านว้าเหว่ ต้องร้องเรียกท่านด้วยเสียงอันดัง เพราะท่านกำลังป่วยไข้ เวลาท่านอาเจียนหรือขี้รดเยี่ยวราดก็ต้องพยายามจัดล้างจัดซัก หรือเปลี่ยนผ้าใหม่ให้ท่านด้วยมือของตนเองโดยความเต็มใจ ให้เหมือนกับที่ท่านได้ทำให้เราเมื่อเล็กๆ
ฉะนั้น ในการบำรุงเลี้ยงร่างกายนี้ บางคนพ่อแม่มีฐานะดีสมบูรณ์ไม่เดือดร้อนอะไร เราจะคิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ถูก เมื่อถึงฤดูมีผลไม้อะไรใหม่ๆ และแปลกๆ เช่น เงาะหรือทุเรียนเป็นต้น ก็ควรจะจัดหาไปให้ท่านบ้าง แม้สักเล็กน้อยก็ยังดี ถึงว่าของนั้นท่านจะหาซื้อเองได้ แต่ท่านย่อมจะมีความรู้สึกว่าของที่ท่านได้รับจากลูกนั้น ท่านได้กินทั้งผลไม้และน้ำใจที่ได้รับจากลูกด้วย
บางคราวด้วยความรักลูก ยังอุตส่าห์แบ่งเอาทำบุญกับพระที่วัดใกล้ๆ และยังคุยให้ท่านฟังด้วยว่า ของนี้ลูกเขาฝากมาให้ รู้สึกว่ามันทำให้ท่านเกิดความอิ่มอกอิ่มใจมิใช่น้อย
ส่วนการ เลี้ยงน้ำใจ นั้น จงได้พยายามทำทุกอย่างไม่ให้ขัดเคืองใจพ่อแม่ เมื่อท่านมีความประสงค์จะเอาอะไร หรือจะให้เราทำอะไรแล้ว จงพยายามทำตามที่ท่านต้องการด้วยความเต็มใจ แม้สิ่งนั้นจะไม่ถูกกับความประสงค์ก็ดี หรือเป็นของไม่ควรทำ แต่ไม่ถึงกับเสียหายก็ดี ก็ขอให้พยายามทำตามเถิด อย่าขัดขืนให้ท่านไม่สบายใจเลย จงคอยสังเกตดูว่าสิ่งใดท่านชอบทำสิ่งใดท่านชอบรับประทาน แม้ท่านไม่ได้บอกขอร้องเรา ก็จงพยายามจัดทำหรือจัดหามาสนองท่าน
หากทำได้ดังนี้ ท่านจะปลื้มใจมาก เพราะดีใจว่าลูกรู้จักน้ำใจท่าน
ถ้าบางครั้ง ไม่สามารถจะทำตามความประสงค์ของท่านได้แล้ว ก็อย่าเพิ่งออกปากหรือคัดค้าน จงเฉยๆไว้ก่อน แล้วหาอุบายพูดให้ท่านเข้าใจเองว่า สิ่งนั้นเป็นของผิดหรือเหลือวิสัยที่จะทำได้ อย่างนี้จัดว่าพยายามเลี้ยงน้ำใจของพ่อแม่
 
 
 
 
 
ทำบุญอุทิศให้ท่าน
เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน คือ เมื่อท่านต้องตายทำลายขันธ์ไปตามธรรมดาของสังขารแล้ว ลูกก็ไม่ควรแต่จะเศร้าโศกเสียใจร้องไห้รำพัน จนไม่มีจิตใจจะทำฌาปนกิจศพของท่านอย่างไร
ควรจะระงับความทุกข์ใจเพราะเหตุนี้เสีย แล้วกลับมาพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า พ่อแม่เราต้องตายไปตามธรรมดาของคนทุกคน ที่เกิดมาแล้วก็ต้องตายทั้งสิ้น ปู่ย่าของเรา ทวดของเรา ท่านก็ตายไปแล้วเช่นเดียวกัน และท่านเหล่านั้นก็หาเอาอะไรไปได้สักนิดหนึ่งไม่ แม้สิ่งใดที่ท่านรักดังดวงใจ ท่านก็เอาไปไม่ได้เลย แม้ถึงตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน ในไม่ช้าก็ต้องตายไปอีกเช่นเดียวกับท่าน หน้าที่ของเราก็คือ ต้องทำบุญกุศล อุทิศผลบุญนั้นๆ ไปให้แก่ท่านเท่านั้น เพราะ จะทำอย่างอื่นนั้นก็ไม่ถูกไม่ควร ด้วยว่าท่านไม่มีชีวิตเสียแล้ว จะบำรุงกายบำรุงใจอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะนักปราชญ์กล่าวไว้ว่า … บุญกุศลที่เราอุทิศไปให้เท่านั้นหากท่านได้มีโอกาสรับอนุโมทนา ก็จะสำเร็จประโยชน์เป็นความสุขความเจริญแก่ท่านได้
และเราก็ควรทำแต่สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลจริงๆ ไม่ควรทำบาปเลยในการทำฌาปนกิจหรือทำบุญอุทิศให้พ่อแม่นี้ เช่นจะฆ่าเอง หรือสั่งให้คนอื่นฆ่า เอาเนื้อสัตว์มาทำบุญก็ไม่ควร หรือจะมีมหรสพให้สนุกสนาน ก็ไม่เหมาะ เพราะไม่ใช่เรื่องบุญกุศล ควรทำแต่เรื่องบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ฟังธรรมเทศนา ตามสมควรแก่กาลเวลาเท่านั้น บุญกุศลที่จะอุทิศไปให้แก่พ่อแม่จะได้เป็นบุญที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ให้มีบาปอันใดมาเจือปน ซึ่งจะเป็นเวรกรรมต่อไปอีก เพราะมาปรารภการทำบุญให้พ่อแม่เป็นเหตุ
การอุทิศก็ต้องตั้งใจอุทิศด้วยน้ำใจอันสงบ และใสสะอาดจริงๆ ไม่ใช่ทำด้วยความรีบร้อน หรือสักแต่ว่ารินน้ำตรวจจนจบพระยถา … พอเป็นพิธีเท่านั้น
 
มั่นอยู่ในกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่
มั่นอยู่ในกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ คือกตัญญูหมายถึงรู้อุปการคุณที่พ่อแม่ทำไว้แก่เรา และกตเวทีตอบแทนอุปการคุณของท่าน รวมความว่ากตัญญูกตเวที หมายถึง รู้อุปการคุณที่พ่อแม่ทำแล้ว และตอบแทน เพราะพ่อแม่ชื่อว่าเป็นบุพการีบุคคลของเรา เป็นคนแรกติดกันก่อนผู้ใดทั้งหมด ถ้าเป็นคนอื่นนอกจากพ่อแม่เขาได้ทำอุปการะแก่เราก่อน เขาก็ได้ชื่อว่าเป็นบุพการีบุคคลของเราเหมือนกัน เราก็ควรแสดงกตัญญูกตเวทีต่อผู้นั้นด้วย
สำหรับพ่อแม่นี้ เราต้องมั่นอยู่ในกตัญญูกตเวทีอย่างแท้จริง เพราะในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะเป็นบุพการีของเราก่อนยิ่งกว่าพ่อแม่ และ เรา เกิดมาตลอดชาตินี้ก็จะมีพ่อได้เพียงคนเดียว และแม่ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าท่านตายแล้วก็หาใหม่อีกไม่ได้ เราจึงต้องมั่นในกตัญญูกตเวทีต่อท่านให้มากที่สุด ทั้งในเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หรือท่านตายจากเราไปแล้ว
วิธีตอบแทนท่าน ก็คือ เวลาท่านยังมีชีวิตอยู่ ต้องพยายามบำรุงเลี้ยงกายและน้ำใจของท่านให้ดีที่สุด ดังกล่าวแล้ว
การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่นั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญและอนุญาตว่า แม้ลูกบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว จะบิณฑบาตมาเลี้ยงพ่อแม่ก็ไม่ปรับอาบัติ โดยเฉพาะข้อนี้ถ้าเป็นพ่อ … ลูกเป็นพระภิกษุ จะบีบนวดอาบน้ำป้อนข้าว ปฏิบัติท่านให้เหมือนกับสามเณรปฏิบัติต่อพระภิกษุก็ได้ ถ้าเป็นแม่ … พระองค์ทรงอนุญาตให้เลี้ยงดูได้คล้ายบิดา แต่จะถูกต้องตัวแม่ไม่ได้เท่านั้น อนึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า แม้ลูกจะเลี้ยงดูให้วิเศษอย่างไร ก็ยังไม่ชื่อว่าแทนคุณพ่อแม่ได้
ส่วนวิธีที่จะตอบแทนคุณพ่อแม่ได้นั้น ก็คือ เมื่อท่านยังไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ลูกได้พยายามแนะนำช่วยเหลือ ให้ท่านกลับเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา จึงจะชื่อว่าตอบแทนคุณพ่อแม่ได้
ครั้นเมื่อท่านตายไปแล้ว นอกจากทำบุญอุทิศไปให้ตามประเพณีเช่นนี้ ยังมี วิธีตอบแทนที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งคือ การทำตัวของเรานี้เองให้เป็นคนดีที่สุด จน กระทั่งตัวเรานี้เป็นผู้บริสุทธิ์ สะอาด หมดจดจากกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ก็ชื่อว่าตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ได้ เพราะเนื้อตัวของเรานี้ล้วนเป็นของท่านทั้งสิ้น เราได้กำเนิดมาจากท่าน และเติบโตมาด้วยน้ำนมข้าวป้อนของท่าน เรียกว่าตัวท่านกลายมาเป็นตัวเราในบัดนี้
ถ้าเราทำตัวของเราไม่ดี มีความประพฤติทุจริตเหลวไหล จนตัวเราเองได้รับความลำบากและความอัปยศอดสู เสียชื่อเสียง ก็เหมือนทำลายพ่อแม่ ทำความเสื่อมเสียให้แก่วงศ์ตระกูล จัดว่าเป็นผู้อกตัญญูต่อท่านโดยตรง เมื่อท่านทราบด้วยญาณวิถีใดๆ ก็จักโทมนัสเสียใจหาน้อยไม่
ฉะนั้น หากสิ้นบุญพ่อแม่แล้ว เราต้องพยายามระมัดระวังตัว และบำเพ็ญแต่คุณงามความดี หลีกเลี่ยงจากการกระทำชั่วเป็นเด็ดขาด อุตส่าห์ปฏิบัติธรรมสร้างฐานะและชื่อเสียงให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
 
หน้าที่ของลูกโดยย่อ
หน้าที่ของลูกนี้เมื่อกล่าวโดยย่อ มีอยู่ ๗ ข้อ คือ
•  พ่อแม่ได้เลี้ยงเรามาแล้ว ก็เลี้ยงท่านตอบ
•  ช่วยทำกิจการงานของพ่อแม่
•  ดำรงวงศ์ตระกูลของพ่อแม่
•  ประพฤติตนให้เป็นคนสมควรรับทรัพย์ มรดกของพ่อแม่
•  เมื่อพ่อแม่ล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศให้ท่าน
•  มั่นอยู่ในกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่
•  เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ในทางที่ถูกต้องโดยเคร่งครัด
ปุพพาจริยาติ วุจจเร
บิดามารดา
เป็นบุรพาจารย์ของบุตร (๒๐/๔๗๐)
 
 
มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ
นั่งสมาธิอย่าน้อยวันละ ๑๕ นาที (หรือเดินจงกรมก็ได้)
•  อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
•  เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย
•  จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
•  ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
•  ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
•  เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล
 
 
สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆ
อย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
 
อานิสงส์
•  เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
•  ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า
•  เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว
•  แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา พระคาถาชินบัญชร เป็นต้น
•  เมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง
ที่มา http://www.kanlayanatam.com/sara/sara136.htm